วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชาการวางเป้าหมายและแผนชีวิต

โดย อาจารย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ ศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเครือข่ายมหาลัยชีวิต ทุ่งสง

   ข้าพเจ้าได้มาเป็นผู้จัดการกระบวนการเรียน รู้ของ มหาลัยชีวิต ก่อนที่จะได้ใบอนุญาตจัดตั้งเป็น
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ได้เข้อบรมก่อนทุกครั้งที่จะดำเนินการ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นนักศึกษา ของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2552 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้า ก็ยังดำเนินการ จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมี นางเพ็ญศรี รัตนพันธ์ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ แม้จะมีอุปสรรค ในการได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันล่าช้า ทำให้ไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนตามกำหนดการที่วางเอาไว้ แต่ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธาในแนวทางการเรียนการสอนของมหาลัยชีวิต ทำให้ข้าพเจ้า ยังดำเนินการสอนต่อไป

   ข้าพเจ้าได้ดำเนินการ จักกระบวนการเรียนรู้ วิชา การวางเป้าหมายและแผนชีวิตมาตลอด ในทุกครั้งที่มีการดำเนินการจัด สอนในวิชานี้ แต่ที่ผ่านมาการจัดการสอนไม่ได้จบคอร์ด เหมือนในครั้งนี้ จึงทำให้ ยังไม่เห็นประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับเท่าที่ควร แต่ในครั้งนี้ นักศึกษาเข้าใจและอาจารย์ก็เข้าใจว่าทำไม “นักศึกษาดีขึ้นระหว่างเรียน”

เนื้อหาสาระของวิชานี้ จะให้นักศึกษา เรียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง ให้วิเคราะห์ตัวเอง ทำแฟ้มชีวิต และทำแผน และปฏิบัติตามแผน 3 แผน  คือ 1.แผนเวลา 2.แผนสุขภาพ 3.แผนงบประมาณและบัญชีครัวเรือน

       โดยใช้หลักการว่า สอนให้นักศึกษาช่วยตัวเองก่อน ก่อนที่จะช่วยคนอื่น ถ้าช่วยตัวเองได้ย่อมช่วยคนอื่น และช่วยสังคมได้

   ผลจากการ เรียนรู้วิชา การวางเป้าหมายและแผนชีวิต ซึ่งผู้เขียนสรุปมาจาก ความรู้สึกที่นักศึกษา ที่ส่งมาพร้อมรายงาน ของวิชา การวางเป้าหมายและแผนชีวิต

จากการที่ผู้ที่เตรียมตัวเป็นนักศึกษาได้เข้าฝึกอบรม วิชาวางเป้าหมายและแผนชีวิต ทำให้นักศึกษา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนชีวิต ที่แบ่งเป็น 3 ด้าน ของแต่ละคน ทำให้นักศึกษาที่เข้าอบรม สามารถจัดการ เวลา จัดการสุขภาพ และจัดการวบประมาณครอบครัวได้ดี มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถกำหนดตัวเองได้ ไม่ปล่อยตามกระแสร์

สรุปการจัดทำแผนและปฏิบัติตามแผน

1. ของนางเพชรรุ่ง เม่งเอียด เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตร ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน นครศรีธรรมราช ผู้เตรียมตัวเป็นนักศึกษา มหาลัยชีวิตทุ่งสง
1.1 แผนเวลา และการปฏิบัติตามแผน
“หลังจากบันทึกการใช้เวลาและทำกิจกรรมเดินตามเวลาที่เรากำหนดไว้ รู้สึกว่าข้าพเจ้ามีเวลามากขึ้น มีอิสระในการทำงานแต่ละวันมีความสุขกับการทำงานและสนุกกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันโดยไม่รู้สึกเบื่อ สุดท้ายข้าพเจ้าคิดว่าหากข้าพเจ้ารู้จักจัดการกับเวลา ชีวิตข้าพเจ้าก็จะมีความสุข ข้าพเจ้าสามารถใช้ชีวิตแบบมีระเบียบมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น
1.2 แผนงบประมาณ และการปฏิบัติตามแผน
“ผลสรุปที่ได้จากการทำแผนงบประมาณประจำปีและบัญชีครัวเรือนก็คือ การใช้จ่ายโดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน ก็ไม่ต่างจากการเดินทางโดยไร้ทิศทาง ดังนั้นการทำแผนงบประมาณประจำปีและบัญชีครัวเรือนเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานจะสามารถควบคุมให้การทำงานให้อยู่ภายในกรอบของแผน และภายใต้กฎเหล็กที่ข้าพเจ้าวางไว้ สำหรับการเงินออม ดังนั้นเมื่อมีแผนหรือเป้าหมายที่ชัดเจนก็สามารถตอบสนองความต้องการให้ของตัวเองให้บรรลุผลสำเร็จจนผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จข้างหน้าได้”

1.3 แผนสุขภาพ และการปฏิบัติตามแผน
สรุปการปฏิบัติของข้าพเจ้าเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของข้าพเจ้าเองในด้านการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการพัฒนาจิตใจ เพื่อจะให้บรรลุวัตถุปะสงค์ตามแผนที่ข้าพเจ้า
ได้วางไว้ ปัจจุบันข้าพเจ้า น้ำหนักตัว 66 กิโลกรัม รอบเอว 87 นิ้ว ค่าดัชนีมวยกาย 26.2 อาการปวดเข่าและปวดหลังค่อยหายไป ข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่าไม่ยากเลยที่จะเริ่มใส่ใจสุขภาพตัวเองและคนใกล้ตัวที่สอดคล้องกับแนวทางธรรมชาติบำบัด โดยเน้นความสัมพันธ์ของสุขภาพกายและสุขภาพใจ ซึ่งยึดหลักการเดียวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

2.ผลสรุปการปฏิบัติตามแผน นางนงลักษณะ ชูศรี สมาชิก อบต.วังหิน ผู้เตรียมตัวเป็นนักศึกษา
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

2.1.ผลจากการปฏิบัติตาม แผนการจัดการเวลา  สรุปได้ว่า

   จากแผนการจัดการเวลาที่วางไว้ ตั้งแต่วันที่ 9-17 มกราคม 2554 แสดงให้เห็นถึงการกำหนดการใช้เวลาอย่างเป็นระบบ

ผลการวิเคราะห์บทบาทตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มกับตัวเราเอง มีเวลาอ่านหนังสือ ทำงานบ้านและกิจกรรมครอบครัว ตลอดถึงการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

การปฏิบัติตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละบทบาทของแต่ละสัปดาห์ได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ เนื่องจากตอนเย็นต้องทำงานบ้านและบางครั้งก็ต้องออกไปทำงานนอกบ้านกลับค่ำ จนทำให้แผนงานบางอย่างถูกเลื่อนออกไป เช่นจากเดิมตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะออกกำลังกายให้ได้มากกว่า 3 วัน เป็น 4 – 5 วัน ก็ไม่สามารถทำได้ จึงทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ

จากการเรียนแผนการจัดการเวลานี้ทำให้ชีวิตของฉันซึ่งมีหลายบทบาท เกิดความสมดุลมากขึ้น เช่น เรื่องสำคัญเร่งด่วน 33% สำคัญไม่เร่งด่วน 36% ไม่สำคัญเร่งด่วน 15% ไม่สำคัญไม่เร่งด่วน 16% และต่อไปจะพยายามบริหารเวลาให้เหมาะสมมากกว่านี้ หากสามารถบริหารจัดการชีวิตเราได้ แม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งความรู้ภูมิปัญญาอย่างเดียวไม่สามารถใช้ได้เสมอไป จึงจำเป็นต้องผสมผสานกับความรู้ใหม่และความคิดสร้างสรรค์ หากมีการบริหารจัดการเวลาหรือมีการวางแผนก็จะทำให้ทุกอย่างมีความเป็นระเบียบและมีกฎเกณฑ์ และทำให้ชีวิตมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการใช้ตารางวางแผนประจำสัปดาห์ ฉันคิดว่าจะปรับเปลี่ยนแผนบริหารการจัดการเวลาใหม่ โดยจะลดเวลาในเรื่องไม่สำคัญไม่เร่งด่วนลงอีกและให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้เวลาให้มากขึ้นอีกในสัปดาห์ต่อไป

2.2.ผลการปฏิบัติตามแผนสุขภาพ

     เป้าหมายเรื่องแผนสุขภาพ คือต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งแผนนี้ตรงกับเป้าหมายชีวิตของฉัน เนื่องจากฉันเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน เนื่องจากพันธุกรรมของพ่อและแม่ อีกทั้งอายุของฉันก็ย่างเข้าสู่วัยที่มีความเสี่ยงกับโรคเหล่านี้พอสมควร

แนวคิดที่จะทำให้เป้าหมายนี้ประสบผลสำเร็จ คือกินปลาเป็นประจำและกินผักเป็นยา โดยยึดแนวคิดที่ว่า รู้กิน รู้โรค กินถูก กินดี กินเหมาะสม เพราะการกินอาหารที่ดีและเหมาะสมกับวัยและร่างกายนั้น มีส่วนในการช่วยป้องกันและรักษาโรคได้ แต่ในทางกลับกัน หากกินอาหารที่ไม่เหมาะสมหรืออาหารที่เลี่ยงต่อการเกิดโรค ก็อาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้

การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งในแผนสุภาพ โดยที่ฉันนั้นออกกำลังกายด้วยการวิ่งเหยาะๆ วันละ 30 นาที ซึ่งการออกกำลังกายนั้น สามารถช่วยให้ปรับระบบกายใจสู่สุขภาวะที่สมดุล เมื่อร่างกายมีความสมดุลก็ก่อให้เกิดความเป็นปกติสุขและยั่งยืน

สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือต้องไปงานสังคมในตอนเย็น ซึ่งเป็นเวลาออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามฉันจะพยายามปฏิบัติให้ได้ตามแผนที่วางไว้ และคิดว่าจะดูแลสุขภาพและพัฒนาตัวเองในทุกๆด้าน ซึ่งจะพัฒนาแบบบูรณาการ (องค์รวม) เพราะหากสติปัญญาดี ฐานะมั่นคง แต่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ก็ถือว่าชีวิตประสบความล้มเหลว ฉันจึงตั้งใจไว้ว่าจะดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงและปราศจากโรคตลอดไป

2.3.ผลการปฏิบัติ แผนงบประมาณและบัญชีครัวเรือน


ก่อนที่จะมาเรียนมหาวิทยาลัยชีวิต ฉันไม่เคยทำแผนงบประมาณหรือแผนการเงินเลย จึงทำให้ไม่ทราบเลยว่าในครอบครัวมีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ เมื่อมีเงิน อยากซื้ออยากได้อะไรก็ซื้อตามความต้องการของตน โดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นแม้แต่น้อย จึงทำให้ครอบครัวไม่มีเงินออม แต่เมื่อเริ่มทำบัญชีครัวเรือน ก็ทราบว่าในครอบครัวมีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีเงินออม จนกระทั่งได้มาเรียนวิชาวางเป้าหมายชีวิต เรื่องแผนงบประมาณและบัญชีครัวเรือน และได้กำหนดเป้าหมายว่าจะลดรายจ่ายลง และเริ่มออมเงิน เพื่อให้ครอบครัวมีเงินเก็บและมีความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

ผลจากการทำแผนงบประมาณการเงินทั้งรายเดือนและรายปี ได้ตั้งเป้าหมายการออมไว้เดือนละ 2,000 บาท หลังจากนั้นก็หมั่นทบทวนและปรับปรุงแผนงบประมาณเป็นระยะๆ โดยดูจากบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อดูว่ารายรับกับรายจ่ายมีความสมดุลกันหรือไม่ ซึ่งเมื่อทราบดังนั้นแล้ว ก็ต้องปรับเปลี่ยนแผนงบประมาณเพื่อจะลดรายจ่ายลง และจะได้มีเงินออมเดือนละ 2,000 บาท ตามเป้าหมายที่วางไว้

มาถึงวันนี้ เวลาได้ผ่านไป 20 เดือน ครอบครัวของฉันมีเงินออม 40,000 บาท ทำให้มีความรู้สึกว่าครอบครัวได้รับประโยชน์จากการทำแผนงบประมาณและบัญชีครัวเรือน และที่สำคัญที่สุดคือฉันได้เรียนรู้สิ่งใหม่และได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างคุ้มค่าที่สุด

 ข้าพเจ้านำความคิดเห็น ของนักศึกษา มาเป็นตัวอย่าง จำนวน 2 ท่าน
     แต่จากการที่มีการนำเสนอด้วยวาจาทำให้นักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และทำให้นักศึกษารู้จักกันมากยิ่งขึ้น เห็นอกเห็นใจกัน มีผลดีในการร่วมงานกันในอนาคต  และสรุปได้ว่า การเรียนมหาลัยชีวิต ทำให้นักศึกษาดีขึ้นระหว่างเรียนด้วยการจัดการ ตัวเอง  เกี่ยวกับ เวลา   สุขภาพ และงบประมาณ ของตัวเอง สามารถจัดการตัวเองและช่วยเหลือตัวเองได้

อ.อิทธิเดช   วิเชียรรัตน์

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้


เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์การเรียนรู้ทุ่งสง
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
หลังจากข้าพเจ้าจบปริญญาโท ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยชีวิต แล้วนั้นก็ได้มีโอกาสมาเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยชีวิตระดับปริญญาตรี โดยการชักชวนของเพื่อนๆที่จบ ปริญญาโทพร้อมกัน
การที่ข้าพเจ้ามาเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ฯ ครั้งนี้ ก็เพราะศรัทธาในแนวทางการเรียนการสอน ของมหาวิทลัยชีวิต ได้รับอนุญาตจัดตั้ง เป็นสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน การที่ข้าพเจ้า มาเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่นี้ไม่ใช่เพราะค่าตอบแทน แต่มองเห็นว่า การจัดการเรียนวิธีนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เป็น
การปฏิรูปการศึกษา ที่ประเทศไทย อยากจะทำมานานแล้ว แต่ไม่ไปไม่ถึงสักที ทำให้การศึกษาเราล้าหลังกว่า หลายปนะเทศในเอเซีย

ผู้จัดกระบวนการเรียน คือผู้ที่ พร้อมที่จะเรียนบางสิ่งบางอย่างจากผู้เรียน ไม่ใช่ผู้สอนแบบถ่ายทอดความรู้ และพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมกับนักศึกษา
จัดทำแผนการเรียนรู้ จัดให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด ความรู้ทักษะและประสบการณ์ด้วยตนเองและด้วยกลุ่ม จึงเรียกว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่ใช่การสอน
แผนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบร่วมกันของอาจารย์และนักศึกษา จะช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนและแต่ละกลุ่มได้สร้างความรู้ใหม่ที่เป็นความรู้มือหนึ่ง ขึ้น
อาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ จะนำเอา ความรู้หรือประสบการณ์ของคนอื่นที่เรียนรู้ไปก่อนหน้าเรา ซึ่งเป้นความรู้มือสอง มาถ่ายทอดให้นักศึกษาทราบ เพื่อจะรู้ว่าในวิชาที่เราเรียนนั้นมีใครเคยสร้างความรู้มาบ้างแล้ว
การสร้างความรู้มือหนึ่งคือการลงมือปฏิบัติจริง

ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องถ่ายทอดแนวการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับนักศึกษา เพราการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเป็นทักษะให้นักศึกษา สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองได้
นักศึกษา มหาวิทยาลัยชีวิตจะต้อง ทำความเข้าใจกับตัวเองว่าเราต้องการ ปริญญาบัตรหรือปริญญาชีวิต หลายคนอาจจะตอบว่าต้องการทั้งสองอย่าง แต่เราต้องการอะไรเป็นลำดับแรกละ
นายสัตวแพทย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ อาจารย์ประจำศูนย์เรียนรู้ทุ่งสง

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ท่องเที่ยวเกาหลีใต้




เมื่อวันที่ 26-30 มกราคม 2553 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวประเทศ เกาหลีใต้ ออกจาก สนามบินสุวรรณภูมิ 22.30 น .ของวันที่26 มกราคม 2553 ถึงสนามบิน อินวอน ประเทสเกาหลีใต้ เวลา 06.30 ของวันที่27 มกราคม 2553 ใช้เวลาเดินทาง 4 ชม ขาไปและ เวลาในประเทสเกาหลีจะเร็วกว่า ประเทศไทย 2 ชม ความจริงแล้วคือ อยู่ในประเทศเกาหลีใต้ 3วัน3คืนเต็มๆ เพราะเดินทางกลับ เวลา 19.30 น ของวันที่ 30 มกราคม 2553 อากาศ ที่เกาหลีหนาวมากต้องเตรียมเสื้อกันหนาวไปหลายตัว อุณหภูมิที่นั้น ต่ำสุด ถึง -8 องศาเซียลเซียส

อาหารเช้ามื้อแรก ที่ถึงเกาหลี ใต้ คือ ลาเมง เปนบะหมี่ ของเกาหลี ได้ทาน ร้อนๆพอหายหนาวบ้าง ลืมบอกไปว่า คณะของข้าพเจ้าที่มานี้เ ป้นลูกค้าของบริษัทเมเรียล ( ประเทศไทย)จำกัด มีทั้งหมด 58 ท่าน เดินทางไปและกลับดดยสารการบินเกาหลีแอร์ไลน์ (koreon air)มีคนไทยไปในเที่ยวนั้นประมาณ 400 คน จากความจุ 500 คน แสดงว่าคนไทยเที่ยวเกาหลีมาก แต่คนเกาหลีมาเที่ยวเมืองไทยน้อย (จากการสอบถามจาก ไกด์)

หลังอาหารมื้อเช้าแล้ว เดินทางไปเมือง มูจู ทางใต้ของกรุงโซล ใช้เวลา 3-4 ชม เมืองมูจู เป็นเมืองท่วงเที่ยวทางใต้ มีลานสกีน้ำแข็ง ใช้เปนที่แข่งขัน กิฬา ฤดูหนาว เคยเปนสนามแข่งขันกิฬาโอลิมปิกฤดูหนาว คืนแรกที่ใกล้ๆ ลานสกี แต่ก่อนจะเข้าที่พัก ได้ไปดุวัด ที่อยู่ในหุบเขา สวยมากแต่อากาสหนาวมากและเดินไกล แต่ก็คุ้มกับการเดิน คิดว่าเป็นการออกกำลังกายไปด้วย

จากกเดินทางโดยรถดดยสาร จะเห็นว่ารถในเกาหลีนั้นจะเป็นรถที่ผลิตในประเทสประมาณ 90 เปอเซนต์ มีรถ ยุโรปและรถญี่ปุ่นน้อยมาก ส่วนใหญ่จะยี้ห้อ ฮุนได ที่มีมากที่สุด รองลองมาก็มี เกียรื แดวู และซัมซูง

สำหรับอาหารของเกาหลี ที่เป็นอาหารประจำชาติ คือ กิมจิ คือผักดอง นั้นเองแต่ดองตาม แบบของเกาหลี และ ที่เรารู้จักกันคือ ชาบู ชาบู หรือสุกี้เกาหลี และ ที่ เรานิยมรับประทานกันมากคือ หมูย่างเกาหลี การไปเที่ยวนี้ได้ลิ้มรสอาหารหลายชนิด และทุกมื้อเขาจะมีกิมจิให้เราทานทุกมื้อ เพราะเป็นอาหารประจำชาติเขา

วันที่ 28 มกราคม หลังจากรับประทานอาหารเช้า แบบยุโรป ผสมเกาหลีแล้ว หัวหน้าทัวร์ ก็พาลูกทัวร์ไป ยังลานสกี ในวันนี้อุณหภูมิ ที่หน้าจอที่ ลานสกี แจ้งว่า -1 องศา เซียลเซียส มีลูกทัวร์บางท่าน ที่เล่นสกีเป็นจะเล่นสกีดดยเช้าอุปกรณ์ ชุดละ 1,200 บาท เมื่อคิดเป็นเงินไทย ลูกทัวร์ที่ไม่เล่นสกี ก็จะขึ้นกระเช้าไปดุบรรยากาศบนเขา ที่ หนาวมาก แต่มีที่พักให้ทานกาแฟ ซึ่งอบอุ่นดีมาก