วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
หัวข้อที่สนใจศึกษา
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการรักษาความปลอดภัย :กรณีศึกษา
บ้านจังหูนใต้ หมู่ที่ 14 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
โดยอิทธิเดช วิเชียรรัตน์ ปริญญาโท สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2551
เพื่อศึกษา กระบวนการรักษาความปลอดภัยของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาความปลอดภัย และกาสร้างนวัตกรรม การรักษาความปลอดภัย ของชุมชน บ้านจังหูนใต้ หมู่ที่ 14 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการ ใช้เทคนิค และเครื่องในการ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของชุมชน เทคนิค A-I-C ดร.สวัสดิ์ พุ้มพวง ผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาชุมชน เป้นผู้ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
ชุมชนบ้านจังหูนใต้หมู่ที่ 14 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ได้สร้าง นวัฒกรรมการรักษา ความปลอดภัยของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ชื่อว่า “การลาดตระเวร หมู่บ้าน” โดยมีชุดลาดตระเวร ชุดละ 5-6 คน มีหัวหน้าชุด 1 คนลูกทีม 5 คน ออกลาดตระเวร ตั้งแต่เวลา 22.00 น.- 03.00น. ของทุกวัน เครื่องมือที่ใช้ในการลาดตระเวร คือปืนยาว 1กระบอก ยืมจาก นายอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช นอกจากนั้นใช้ปืนสั้นของ สมาชิกที่ ผู้เข้าร่วมลาดตระเวร และขออนุญาต พกพา ปืน ใน บริเวณหมู่บ้าน จากฝ่ายปกครองของท้องที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รับผิดชอบท้องที่ ทราบเพื่อการประสานงาน ตามที่กฎหมาย กำหนด ทำให้เกิดผลดีต่อชุมชน ไม่มีการ ก่อเหตุ ลักทรัพย์ ชกชิงวิ่งราว และขโมยเครื่องมือการเกษตร ในชุมชนอีกต่อไป
นับเป็น นวัฒกรรมการรักษาความปลอดภัย ที่ สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของประชาชนในชุมชน (ชาวบ้าน) และสามารถนำไปปรับใช้ประโยชน์ กับชุมชน อื่นๆ ได้ต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น